มนุษย์คงปฏิเสธไม่ได้ว่าบริบทรอบข้างนั้นส่งผลต่อตัวมนุษย์และสิ่งที่มนุษย์กระทำ การกระทำต่างๆนั้นเป็นผลพวงมาจากสภาพแวดล้อมทั้งสิ้น การปรับตัวในแบบต่างๆสะท้อนถึงตัวคนและถิ่นที่อยู่รวมทั้งบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นรายล้อมตัว สิ่งเหล่านี้คือเบื้องหลังพื้นฐานทางจิตใจของมนุษย์
ดนตรีก็เป็นสิ่งหนึ่งที่มนุษย์กระทำและเป็นผลผลิตจากกระบวนการที่กล่าวมา ดนตรีเกี่ยวข้องกับมนุษย์ตั้งแต่อดีต ดนตรีบอกเล่าเรื่องราวของกลุ่มคนนั้นๆ ความเป็นอยู่ วิถีชีวิตและแนวคิดสะท้อนอยู่ในบทเพลงทั้งสิ้น ดังนั้นดนตรีจึงไม่ได้เดินอยู่อย่างโดดเดี่ยวแยกโลกและวิถีชีวิตมนุษย์ ดวามเป็นเสียงเป็นเพลงผูกพันธ์กับตัวคนตั้งแต่เกิดยันตาย ซึ่งทั้งดนตรีและชีวิตคนนั้นส่งอิทธิพลระหว่างกัน ดนตรีในอดีตอยู่คู่กับพิธีกรรมและการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นได้เป็นอย่างดีถึงความคิดของคนยุคนั้น ที่นับถือผีหรือสิ่งศักสิทธ์ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ อันแสดงให้เห็นว่าดนตรีรับใช้วิถีชีวิตมนุษย์ที่ตั้งอยู่บนความกลัวและความไม่รู้ในธรรมชาติ ดนตรีจึงเกิดมาในฐานะสื่อกลางระหว่างมนุษย์และสิ่งศักดิ์สิทธ์เหนือธรรมชาติ
ความที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาตินั้นย่อมมีพลังที่เกี่ยวเนื่องกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ณ ที่นั้น อันสามารถบังคับให้เกิดความอุดมสมบูรณ์หรือหายนะได้ มนุษย์ที่ต้องการความสุขย่อมต้องการความอุดมสมบูรณ์เพื่อมาตอบสนองความต้องการเหล่านั้น มนุษย์จึงบูชาโดยการสร้างความเชื่อเกี่ยวกับทวยเทพหรือผีประจำสิ่งต่างๆที่หาคำตอบไม่ได้ขึ้นมาเพื่อเป็นหนทางในการอธิบายเหตุการณ์ต่างที่เกิดขึ้น เช่น แม่โพสพ ผีแถน พระพราย พระเพลิง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ยืนยันแนวคิดบนความกลัวทั้งหลายจากสิ่งที่มนุษย์ยุตก่อนไม่สามารถอธิบายได้ ดนตรีที่เป็นสื่อกลางจึงเป็นเสมือนภาษาที่วิเศษกว่าภาษาที่พูดทั่วๆไป ดั่งนั้นดนตรีที่ปรากฎจึงสามารถบอกเล่าสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และสิ่งต่างๆที่มีในบริเวณนั้นจากความเชื่อได้ อย่างบนหน้ากลองมโหรทึกบอเล่าเรื่องราวอะไรบ้าง? (มีกบ มีตะกวด ลวดลายต่าง ฯ )ในพิธีกรรมที่ใช้บอกเล่าเรื่องราวอะไรบ้าง? (ขออะไรในพิธีกรรม ขอเพื่ออะไร ฯ) ในเนื้อเพลงที่ร้องบอกอะไรบ้าง? เป็นสิ่งที่ต้องกลั่นกรองออกมาอีกที
เมื่อสภาพแวดล้อมต่างๆที่มนุษย์อาศัยอยู่ส่งผลทำให้ดนตรีเป็นเช่นนั้นแล้ว เกิดเป็นดนตรี และระบบระเบียบขึ้นมากาลต่อไปก็จะเป็นเรื่องราวที่ดนตรีนั้นส่งผลออกมาสู่สังคมโดยรวมอันเป็นในลักษณะทางความเชื่อจนกลายเป็นขนบที่ยึดถือปฏิบัติกันต่อๆมา ซึ่งเรื่องราวความเชื่อเหล่านี้ก็จะแฝงไว้ด้วยนัยแห่งความหมายดั่งเดิมที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
เหตุการณ์ที่เห็นได้ชัดของดนตรีกับสิ่งต่างๆรายรอบตัวนั้นประจักแก่เราทุกวัน เพียงแต่บางครั้งเราไม่ได้ฉุดคิดให้รอบด้านเท่านั้นเอง ดนตรีนำเสนอเรื่องราวต่างๆดั่งภาพสะท้องของกระจกเงา เพลงใดๆก็แล้วแต่จะดีไม่ดีหรือเพราะไม่เพราะนั้นอยู่ที่สุนทรียอันเป็นปัจเจกบุคคล แต่สิ่งที่จะมองได้เป็นสากลคือเรื่องราวอันเป็นนัยจากดนตรีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ซึ่งสิ่งที่เกิดมานั้นไม่ควรมองอย่างแคบว่าเป็นการทำลาย แต่พึงมองว่าเป็นการเคลื่อนไหวของสิ่งที่ไม่ตาย จะได้อะไรๆในดนตรีมากกว่า เพราะความเคลื่อนไหวต่างๆนั้นย่อมเป็นไปได้ทั้งดีและไม่ดีขึ้นอยู่กับการตีความคำว่าดีและไม่ดี
ปรากฎการทางดนตรีทั้งในอดีตและปัจจุบันล้วนสะท้อนความเป็นไปของมนุษย์ทั้งสิ้น ตั้งแต่การแต่งเพลงต่างๆในอดีตก็เป็นสิ่งที่บอกเล่าความคิดของสังคมนั้นๆยกตัวอย่างการแต่งเพลงหน้าพาทย์ตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา แต่ขึ้นมาแล้วใครจะบอกว่าตัวเองแต่ ก็ยกให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งสิ้นหรือไม่ก็ไม่บอกอะไรเลย เพราะว่าความเชื่อทางดนตรีในสมัยนั้นยังผูกกับเทพเทวดาและสิ่งศักสิทธิ์เป็นหลัก คนในสังคมเชื่อเช่นนั้น สภาวะทางสังคมไม่ได้ให้การยอมรับว่าแต่งขึ้นมาแล้วเก่ง ซึ่งผิดกับปัจจุบันที่แนวคิดแบบตะวันตกหลังไหลเข้ามาเพลงตะวันตกมีการบันทึกคนแต่งและเนื้อหาต่างๆการได้ทำอะไรสักอย่างก็เหมือนกับการได้จารึกชื่อฝากเอาไว้ให้ลูกหลานได้ชื่นชม ซึ่งแต่เดิมไม่ได้คิดแบบนี้ แนวคิดจากอดีตจึงเกิดการคลี่คลายดังจะเห็นว่าเริ่มมีผู้แต่ที่เปิดเผยตัวมากขึ้นเรื่อยๆทั้งรุ่นเล็กและรุ่นใหญ่ นี่เป็นกรณีตัวอย่างเชิงแนวคิดที่ยกตัวอย่างจากดนตรีไทยที่เป็นแบบแผนราชสำนักภาคกลางเพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งมีมากมายหลายกรณีที่จะเป็นข้อบ่งชี้ว่าจริงๆแล้วดนตรีนั้นไม่เคยเดินแยกตัวอย่างเดียวดายจากมนุษย์ เรื่องราวที่มนุษย์กระทำและสังคมโดยรอบนั้นย่อมปรากฎในดนตรีไม่รูปแบบใดก็รูปแบบหนึ่งบ้างก็โดยตรงเห็นชัดๆ บ้างก็แฝงอยู่ในบทเพลงที่จะต้องมาตีความอีกที่ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องปากท้อง การเมือง ฯลฯ
ยิ่งในสภาวะปัจจุบันยิ่งเห็นได้ชัดเจนมากในดนตรี ป๊อบ ลูกทุ่ง ไปจนกระทั้งดนตรีอื่นๆที่ได้พบพานกันถ้าลองสังเกตุเนื้อหาแล้วหันกลับมาที่ข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ จะเห็นความสัมพันธ์กันอย่างน่าสนใจ ทั้ง เพลงของชาวเหลือง-แดง ที่รับใช้การเมือง เพลงแบบเพลงคันหู ที่สะท้องคนในสังคมบางมุม เพลงวัยรุ่น ที่กล่าวถึงเรื่องความรัก เพลงที่เจาะกลุ่มแรงงาน ที่กล่าวถึงสภาพความเป็นอยู่ให้กำลังใจ ฯ ซึ่งเมื่อนำมาปะติดปะต่อกันแล้วจะได้ภาพทางสังคมที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าสังคมประกอบด้วย คนแบบไหนและคนคิดอย่างไรกันบ้าง เช่นนี้คือการนำดนตรีไปตีความสังคม ซึ่งก็อาจใช้ไม่ได้ในทุกกรณีเพราะดนตรีบางประเภทผลิตขึ้นมาเพื่อเป็นการชี้นำสังคมอย่างเช่นดนตรีที่ใช้ในการโฆษณาต่างๆ
ดนตรีจึงไม่ได้แยกตัวออกจากสังคม ไม่ได้แยกตัวออกจากมนุษย์แต่ดำรงอยู่คู่ไปกับมนุษย์ การฟังดนตรีจึงจำเป็นต้องฟังอย่างรอบด้านมิฉะนั้นแล้วจะทำให้มองไม่เห็นความเป็นไปในดนตรีที่มีความหมายอยู่ในตัวมันเอง ซึ่งรอแต่เพียงผู้ที่จะนำไปใช้ให้ความหมายนั้นเกิดคุณค่าขึ้นมาเพื่อรองรับตัวดนตรีนั้นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น